5 วิธีเลือกซื้ออูคูเลเล่ อย่างไรให้เหมาะกับผู้เล่นและคุ้มค่าที่สุด

เชื่อว่าผู้ที่เริ่มต้นหรือมือใหม่หลายๆท่านคงมีคำถามว่า อูคูเลเล่ตัวแรกควรจะเลือกซื้ออย่างไร ? ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของขนาด ชนิดของไม้ที่ใช้ทำ ประเภทของสายแต่ละชนิดแตกต่างกันอย่างไร เพราะเจ้าเครื่องดนตรีน่ารักชิ้นนี้นั้นมีราคาเริ่มต้นตั้งแต่ 1,000 ไปจนถึง 50,000 อัพกันเลยทีเดียว ขึ้นอยู่กับทุนทรัพย์ของผู้ซื้อ และความพึงพอใจของแต่ละบุคคล

แน่นอนว่าอูคูเลเล่ราคาแพงๆ คงจะยังไม่จำเป็นสำหรับผู้ที่เริ่มต้นสักเท่าไหร่ ดังนั้นวันนี้เราจะมา แนะนำวิธีการเลือกซื้ออูคูเลเล่ในราคาระดับเริ่มต้นไปจนถึงระดับกลางๆ ว่าองค์ประกอบโดยรวมของอูคูเลเล่ที่ดีเป็นอย่างไร นอกจากนี้เรายังได้เขียนบทความรวมอูคูเลเล่ที่น่าซื้อไว้ด้วย ดูได้จากลิงค์ด้านล่างได้เลย

บทความแนะนำ : อูคูเลเล่ยี่ห้อไหนดี น่าซื้อ ราคา 2,000 – 3,000 สำหรับมือใหม่ อัพเดท 2021

ขนาดและไซส์ ( Ukulele Sizes )


ไซส์อูคูเลเล่-ukulele-size

ขนาดของอูคูเลเล่ตามสากลโลกนั้นมีทั้งหมด 4 ขนาด คือ

  1. Soprano
  2. Concert
  3. Tenor
  4. Baritone

เห็นแบบนี้แล้วหลายคนคง งงไปเลยว่าจะเลือกขนาดและไซส์ไหนดี และ แต่ละไซส์ดีและแตกต่างกันอย่างไร แต่จริงๆแล้วไซส์ที่นิยมเล่นกันจริงๆนั้น มีแค่ 3 ไซส์หลักๆ เท่านั้น มีไซส์อะไรกันบ้างไปดูกันเลย

1. Soprano ( 21 นิ้ว )

เป็นไซส์ที่มีขนาดสุด เหมาะกับผู้หญิงและเด็กเล็ก เนื่องด้วยคอและบอดี้ที่มีขนาดเล็กทำให้เล่นได้ง่าย นั่นจึงทำให้มีโทนเสียงที่เล็กและแหลม น่ารักแบบใสๆ เหมาะกับการตีคอร์ดและการพกพาไปเล่นนอกสถานที่

2. Concert ( 23 นิ้ว )

ไซส์นี้เป็นไซส์ขนาดกลาง มีขนาดใหญ่กว่า Soprano เล็กน้อย บอดี้มีขนาดใหญ่ คอยาวขึ้น ให้โทนเสียงทุ้มและเสียงกลางมากกว่าไซส์โซปราโน ทำให้เราสามารถเล่นได้กว้างและหลากหลายไม่ว่าจะเป็น การตีคอร์ด เกาสายหรือโซโล่ หรือแม้จะเป็นการพกพาไปเล่นนอกสถานที่ก็ถือว่ายังไหว นั่นจึงเหตุผลว่าไซส์นี้จึงเป็นไซส์ยอดนิยมในการเลือก อูคูเลเล่ ตัวแรกสักตัว เพราะเป็นไซส์ที่อยู่ตรงกลางระหว่าง Soprano และ Tenor นั่นเอง

3. Tenor ( 26 นิ้ว )

เป็นไซส์ที่มีขนาดเกือบจะใกล้เคียงกีต้าร์ขนาดเล็ก ด้วยขนาดลำตัวและคอที่มีขนาดใหญ่ตามขึ้นมาตามลำดับ จึงมีโทนเสียงทุ้มและหนาขึ้นและใกล้เคียงกับกีต้าร์ เหมาะสำหรับผู้ที่เริ่มเล่นมาแล้วสักระยะหรือผู้ที่ต้องการเปลี่ยนไปเล่นไซส์ที่มีขนาดใหญ่ขึ้น อีกทั้งยังเป็นชี่นชอบในหมู่นักดนตรีมืออาชีพที่นิยมนำมาเล่นแบบ fingerstyle ukulele ( การเล่นบรรเลง ) เพราะสามารถเล่นโน๊ตได้กว้างมากกว่าไซส์โซปราโนและคอนเสิร์ตนั่นเอง

ไม้ ( Wood )


ไม้อูคูเลเล่

ขอบคุณรูปภาพ : https://allaboutbasic.blogspot.com

พูดถึงการเลือกขนาดและไซส์อย่างไรกันไปแล้ว ต่อไปเราจะมาพูดถึงเรื่องชนิดของไม้แต่ละประเภท เพราะไม้ที่ใช้ทำอูคูเลเล่นั้นมีหลายชนิดมาก แต่ไม้ที่นิยมนำมาใช้นั้นคงจะหนีไม่พ้นไม้ Koa mahogany Acacia rosewood cedar และยังแบ่งประเภทออกเป็น ไม้แท้ ( Solid ) และ ไม้อัด ( Laminated ) อีกด้วย ไปดูรายละเอียดของไม้แต่ละชนิดกันเลยว่ามีข้อดีข้อเสียและแตกต่างกันอย่างไร

ไม้แท้หรือไม้จริง ( Solid Wood )

แน่นอนว่าไม้แท้นั้นต้องให้โทนเสียงที่ดีกว่าไม้อัดอยู่แล้ว เพราะไม้นั้นมีผลต่อเสียงแทบจะมากที่สุดก็ว่าได้ แถมยังได้เห็นพัฒนาการณ์ของเสียง หรือ พูดง่ายๆก็คือยิ่งเก่ายิ่งเสียงดีนั่นเอง เพราะเกรนไม้ที่เปิดกว้างและความแห้งของไม้โดยธรรมชาติ ทำให้เสียงใส ไพเราะ และ กังวาลมากกว่าไม้อัด แต่ก็แลกมาด้วยกับราคาที่สูงด้วย ขึ้นอยู่กับชนิดของไม้ด้วยว่าทำมาจากไม้อะไร ดังนั้นการเลือกซื้ออูคูเลเล่ถ้ามองกันในระยะยาวแล้วก็ควรเลือกซื้อที่เป็นไม้แท้จะดีกว่า

  • ราคาปานกลาง – แพง
  • ไม้ที่นิยม Hawaii Koa
  • เหมาะสำหรับมืออาชีพหรือศิลปินที่ต้องการความ High-end

ไม้อัด ( Laminate Wood )

ด้วยยุคสมัยในปัจจุบันกระบวนการขั้นตอนผลิตนั้นย่อมมีเทคนิคและเครื่องไม้เครื่องมือที่ดีขึ้น ไม้อัด หรือ laminate ในสมัยนี้จึงจัดว่าไม่ด้อยเลย เพราะเสียงของไม้ก็จะแตกต่างกันออกไปตามชนิดของไม้ อย่างเช่นไม้ Laminate mahogany ก็ยังให้โทนเสียงที่ทุ้มและกังวาลพอตัว แถมเสียงแต่ละตัวอาจจะต่างกันไม่มากก็น้อย เพราะอูคูเลเล่ในท้องตลาส่วนใหญ่มักจะจะใช้ไม้ที่เป็นไม้อัด เพื่อเซฟต้นทุน ดังนั้นเราควรมีเวลาที่จะไปลองด้วยตัวเองหรือศึกษาหาข้อมูลว่ามียี่ห้อไหนที่น่าสนใจบ้าง

  • ราคาถูก – ปานกลาง
  • เหมาะสำหรับผู้เริ่มต้นที่มีงบจำกัด
  • ไม้ที่แนะนำให้ซื้อ mahogany / Acacia / Sapele
  • ทนไม้ทนมือสำหรับเด็กเล็กและมือใหม่ไม่ต้องการดูแลรักษามาก

รูปทรง ( Ukulele Shapes )


ukulele shape

ขอบคุณภาพจาก http://christinesukulele.weebly.com

อีกเรื่องที่สำคัญพลาดไม่ได้เลยคือเรื่องของรูปทรง โดยปกติเเล้วเราคงจะคุ้นตากันกับรูปทรงที่มีลักษณะคล้ายกับกีต้าร์ที่คล้ายกับรูปเลข 8 ซึ่งเป็นทรงมาตรฐานที่นิยมใช้กันมากที่สุด ซึ่งที่จริงแล้ว รูปทรงหลักๆ ของอูคูเลเล่นั้นมีอยู่ทั้งหมด 3 ทรงด้วยกัน มาดูกันเลยดีกว่าว่าแต่ละทรงมีชื่อเรียกและแตกต่างกันอย่างไร เพื่อเป็นทางเลือกในการตัดสินใจซื้อที่ดีขึ้น

1. ทรงมาตรฐาน หรือ ทรงกีต้าร์ ( Standard Ukulele )

รูปทรงพื้นฐานที่มีลักษณะคล้ายเลข 8 หรือ ทรงกีต้าร์นั่นเอง เป็นที่นิยมที่สุด เพราะเป็นทรงที่ผลิตออกมาจำหน่ายมากทำให้กลายเป็นที่คุ้นเคยและชินตา ด้วย Shapes ของลำตัวและสัดส่วนโค้งเว้า ต่างๆ ที่ถูกออกแบบให้เหมาะสมกับการเล่นมากที่สุด

2. ทรงสับปะรด (Pineapple Ukulele)

ทรงนี้เป็นที่นิยมและแพร่กระจายมากในหมู่เกาะประเทศฮาวาย ซึ่งเป็นต้นกำหนดของอูคูเลเล่ ด้วยรูปทรงที่น่ารักและมีเอกลักษณ์ของมันทำให้ได้โทนเสียงที่โปร่งและกังวาล สัดส่วนโค้งเว้าต่างๆ ที่หายไปทำให้ถือจับค่อนค่างยาก มักพบบ่อยในอูคูเลเล่ขนาดเล็กสุดหรือไซส์ Soprano

3. ทรงคอเว้า (Cut away Ukulele)

มีลักษณะคล้ายทรงมาตรฐานเพิ่มเติมคือมีการเฉือนหรือตัดเนื้อไม้บริเวณลำตัวด้านล่างของคอ ทำให้เราสามารถล้วงเข้าไปในช่องที่ลึกกว่าปกติได้สะดวกขึ้น เหมาะกับผู้ที่ชอบโซโล่ หรือ เล่นแนว fingerstyle ukulele ที่ต้องการเล่นได้ทั่วคอของอูคูเลเล่ พบบ่อยในไซส์ที่มีเฟรตและช่องเยอะๆ หรือ ไซส์ concert และ tenor นั่นเอง

สาย (String)


สายอูคูเลเล่

เรื่องที่สำคัญที่สุดของสายนั้น เราควรดูว่าระยะห่าง หรือ ทัชชิ่ง ระหว่างสายกับเฟรตห่างกันมากน้อยเท่าไหร่ โดยอาจจะสังเกตจากการกะสายตา ประกอบกับการลองจับลองกดเล่นๆ ดูว่าเจ็บนิ้วไหม เพราะโดยส่วนใหญ่แล้วมักพบว่าสายที่ใส่มาให้จากโรงงานนั้นไม่ค่อยได้คุณภาพ แต่บางรุ่นอาจจะใส่สายของ Aquila มาให้เลยก็ถือว่าใช้ได้ เพราะเป็นสายที่นิยมใส่ติดมาให้จากโรงงานในอูคูเลเล่ที่มีราคาปานกลาง

ราคา (Price)


ราคา

เรื่องของราคานั้นส่วนมากมักเริ่มต้นตั้งแต่หลักร้อย ไปจนถึง หลักหมื่น หรืออาจจะถึงหลักแสนก็มีขึ้นอยู่กับยี่ห้อ และ คุณภาพไม้ วัสดุที่ใช้ในการผลิต ดังนั้นเราควรเลือกซื้ออูคูเลเล่ที่ไม่ถูกและไม่แพงจนเกินไป ซึ่งผมได้เขียนบทความแนะนำอูคูเลเล่สำหรับผู้เริ่มต้นไว้แล้ว เพื่อนๆ สามารถตามเข้าไปอ่านกันได้จากลิงค์ด้านบนได้เลย ซึ่งโดยทั่วไปอูคูเลเล่ที่ราคาถูกเกินไปส่วนมากมักใช้ไม้ที่ไม่ค่อยได้คุณภาพในการผลิต แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าตัวที่มีราคาแพงจะดีเสมอไป ฉะนั้นเราควร เลือกซื้ออูคูเลเล่ ที่เหมาะกับเรา ไม่แพงจนเกินไป

สาระดนตรี โดนๆ ไม่อั้น ที่คุณต้องรู้
Logo